1.1 ประวัติความเป็นมา
อำเภอเมืองนครปฐม ได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเมือง เมื่อ พ.ศ. 2493 (ร.ศ.114) เรียกว่า อำเภอพระปฐมเจดีย์ ขึ้นอยู่กับเมืองนครชัยศรีในขณะนั้น ต่อมา ในสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ 6 ได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เปลี่ยนชื่อ อำเภอพระปฐมเจดีย์ เป็น อำเภอเมืองนครปฐม ตั้งแต่ พ.ศ.2456 เป็นต้นมา
1.2 ที่ตั้งและขนาด
อำเภอเมืองนครปฐม เป็นอำเภอชั้นพิเศษ มีพื้นที่รวมทั้งหมด 417.44 ตารางกิดลเมตร หรือ 260,900 ไร่ อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 56 กิดลเมตร เป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ที่มีประชากรอยู่หนาแน่น เป็นที่ตั้งศูนย์ปฏิบัติราชการจังหวัด แหล่งที่ตั้งพาณิชยกรรม อุตสาหกรรมและเกษตรกรรรม โดยมีส่วนราชการตั้งอย ู่ที่ว่าการอำเภอเมืองนครปฐม ถนนเทศา ตำบลพระปฐมเจดีย์ อยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดนครปฐม ประมาณ 12 กิโลเมตร
1.3 อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอดอนตูมและอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอนครชัยศรีและอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอบางแพและอำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอโพธารามและอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
1.4 ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มภาคกลาง ตั้งอยู่ระหว่างแม่นย้ำแม่กลอง พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตรและเป็นแหล่งชุมชนขนาดใหญ่ ที่มีประชากรหนาแน่น โดยมีสัดส่วนการใช้ประโยชน์พื้นที่ คือ พื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 ทำด้านเกษตรกรรม ใช้เป็นที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชย์ ประมาณร้อยละ 17 และ ด้านอุตสาหกรรม ร้อยละ 3
1.5 แหล่งน้ำธรรมชาติ
แล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่อำเภอเมืองนครปฐมส่วนใหญ่เป็นคลอง หนอง บึง ขนาดเล็ก มีคลองธรรมชาติ จำนวน 42 สาย ระยะทางรวมประมาณ 209.7 กิโลเมตร คลองที่สำคัญคือ คลองเจดีย์บูชา คลองท่าผา-บางแก้ว เป็นต้น โดยมีระบบส่งน้ำและระบายน้ำของชลประทานครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด ทำให้มีน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค และทำการเกษตรตลอดปี
1.6 ด้านการเมืองการปกครอง
1.6.1 การปกครองท้องถิ่น
การแบ่งเขตการปกครองท้องที่ของอำเภอเมืองนครปฐม แบ่งออกเป็น 24 ตำบล 214 หมู่บ้าน (ไม่รวมตำบลพระปฐมเจดีย์ ซึ่งอยู่ในเขตเทศบาลนครทั้งหมด)
1.6.2 การปกครองส่วนท้องถิ่น
1 เทศบาล
- เทศบาลนคร 1 แห่ง
- เทศบาลตำบล 3 แห่ง
1.6.3 ประชากร
มีประชากรทั้งสิ้น 172,062 คน แยกเป็นชาย 83,625 คน หญิง 88,437 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยประมาณ 400 คน ต่อตารางกิโลเมตร (ไม่รวมในเขตเทศบาล)