แมลงดำหนามมะพร้าว
แมลงดำหนามมะพร้าว เป็นแมลงศัตรูมะพร้าวที่สำคัญชนิดหนึ่ง แม้ว่าในประเทศไทยจะเคยพบมาก่อน แต่เป็นคนละชนิดกับที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในปัจจุบัน แมลงดำหนามที่เคยพบมาก่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plesispa reichei Chapuis หรือ P. suspense ซึ่งเข้าทำลายหรืออาศัยอยู่ในใบอ่อนของมะพร้าวอยู่เป็นประจำ แต่ไม่เคยมีการระบาดมาก่อน ในขณะนี้มีแมลงดำหนามสายพันธุ์ใหม่ ที่เข้ามาระบาดและเข้าทำลายใบมะพร้าว ให้ได้รับความเสียหายในหลายพื้นที่ทางภาคใต้ และอีกหลายจังหวัดในภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก รวมทั้งสิ้น 20 จังหวัด มีชื่อว่า Coconut Hispine Beetle ชื่อวิทยาศาสตร์ "Brontispa longissima Gestro" ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในประเทศอินโดนีเซีย ปาปัวนิวกีนี และมาเลเซีย เป็นแมลงที่เคยระบาดรุนแรงมาแล้ว ในประเทศ แถบมหาสมุทรแปซิฟิก เช่น ซามัว ตาฮิติ ไต้หวัน ฯลฯ และระบาดไปยังมัลส์ดีฟส์ สิงคโปร์ เวียตนาม สันนิษฐานว่า ติดเข้ามาในประเทศไทยจากการนำเข้าพืชตระกูลปาล์ม เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน หมากเขียว หมากเหลือง และ หมากแดง เป็นต้น เริ่มระบาดเป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่จังหวัดนราธิวาส ในปี พ.ศ. 2543 และพบว่ามีการระบาด ในหลายจังหวัด ที่ระบาดมากคือ จังหวัดสุราษฏร์ธานี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ปัจจุบันพบการระบาดรุนแรง ที่อำเภอเกาะสมุย พะงัน ทับสะแก บางสะพานน้อย ฯลฯ แมลงดำหนามมะพร้าวเป็นแมลงศัตรูสำคัญ ของพืช ตระกูลปาล์ม พบระบาดรุนแรงในมะพร้าว ทำให้ผลผลิตมะพร้าวไม่มีคุณภาพและมีปริมาณลดลง นอกจากนี้ยังให้ทัศนียภาพที่งดงามของแหล่งท่องเที่ยว ขาดความสวยงาม เนื่องจากมะพร้าวเป็นโรคหัวหงอก
ชีวประวัติ
ตัวเต็มวัย เป็นด้วงปีกแข็ง ลำตัวค่อนข้างแบน ขนาดยาวประมาณ 1 เซนติเมตร กว้าง 2-2.5 มิลลิเมตร ส่วนหัวและท้อง มีสีน้ำตาล อกมีสีเหลืองปนส้ม ปีกมีสีดำ มักซ่อนตัวอยู่ตามใบอ่อนหรือใบที่ยังไม่คลี่ ระยะตัวเต็มวัยมีอายุขัย 3-6 เดือน |
|
ไข่ |
|
หนอน |
|
ดักแด้ |
|
ลักษณะการทำลาย
ตัวหนอนและตัวเต็มวัยจะกัดกินยอดอ่อนที่สุดของมะพร้าวที่ยังไม่คลี่ โดยซ่อนตัวในใบอ่อนที่พับอยู่ และจะย้ายไปกินอีกใบอ่อนอีกใบหลังจากที่ใบเดิมคลี่ออก ทำให้ยอดอ่อน ของมะพร้าวชะงักการเจริญเติบโต เมื่อมีการทำลายรุนแรงหลายๆ ใบในแต่ละต้นจะมองเห็นเป็นสีขาวโพลนชัดเจน ซึ่งชาวสวนมะพร้าว เรียกว่า โรคหัวหงอก ระยะตัวหนอน สำคัญที่สุด เพราะทำลายได้รุนแรงกว่าตัวเต็มวัย โดยเฉพาะในพื้นที่มีอากาศแห้งแล้งและขาดน้ำ แมลงดำหนามมะพร้าวระบาดทำลายยอดมะพร้าวทั้งต้นเล็กและต้นสูง ที่ให้ผลผลิตแล้ว มักพบทั้งตัวหนอนและตัวเต็มวัยในยอดเดียวกันเป็นจำนวนมาก และในมะพร้าวที่ให้ผลแล้ว จะทำให้ผลผลิตลดลงมากนอกจากนี้ยังทำลายปาล์มน้ำมัน และปาล์มประดับประเภทหมากเขียว หมากเหลือง และหมากแดงอีกด้วย
พบระบาดในแหล่งปลูกมะพร้าวทั่วไปในภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ภูเก็ต กระบี่ ฯลฯ และได้แพร่ระบาดไปยังภาคกลางแลภาคตะวันออก
แนวทางการควบคุมแมลงดำหนามมะพร้าว
1.ใช้วิธีกล ในมะพร้าวต้นเตี้ย ตัดยอดที่ถูกแมลงกัดกินมาเก็บไข่ หนอนและตัวเต็มวัยไปทำลาย
2.ใช้ชีววิธี โดยใช้ตัวห้ำ ตัวเบียนและเชื้อจุลินทรีย์ เช่น แมลงหางหนีบ แตนเบียนแมลงดำหนามมะพร้าว และเชื้อเมตตาไรเซียม ช่วยทำลายหนอนแมลง
3. ใช้สารเคมี ใช้สารเคมีมีที่มีอันตรายน้อยและสลายตัวเร็ว เช่น คาร์บาริล (เซฟวิน 85% wp) อัตรา 30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นในแปลงเพาะกล้าพืชตระกูลปาล์ม ก่อนการเคลื่อนย้าย จากแหล่งที่มีการระบาดทุกครั้ง
4. การกักกันการเคลื่อนย้ายต้นกล้าและพืชอาศัยตระกูลปาล์มจากพื้นที่ที่มีการระบาด เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของแมลงดำหนามมะพร้าว
แมลงดำหนามมะพร้าวพฤติกรรมการเข้าทำลายของแตนเบียนเกิดจากเพศเมียที่ผสมพันธุ์แล้วจะใช้อวัยวะวางไข่แทงเข้าไปในลำตัวของหนอนแมลงดำหนามมะพร้าวหนอนแตนเบียนที่เกิดขึ้นภายในตัวแมลงดำหนาม ฟักออกเป็นไข่ดูดกินของเหลว แล้วเข้าทำลายตัวแมลงในที่สุด ระยะการเจริญหนอนแมลงดำหนามถูกแตนเบียนทำลาย เติบโตตั้งแต่ไข่จนถึงตัวเต็มวัยประมาณ 17-20 วัน อัตราการใช้ 1 กิโลกรัม/น้ำ 20 ลิตร (นำเชื้อราที่เจริญบนเมล็ดธัญพืชมาขย้ำเพื่อแยกกากออกและเอาเฉพาะสปอร์ที่อยู่ในของเหลว) ผสมสารจับใบ ฉีดพ่นบนยอดมมะพร้าว กำจัดหนอนดักแด้และตัวเต็มวัยของแมลงดำหนามมะพร้าวหนอนแมลง ดำหนามถูกทำลายโดยเชื้อเมตตาไรเซี่ยม
ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองนครปฐม
โทร. 0-3425-2753
และ
ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลทุกตำบล