การดำเนินงานของกลู่ม | ปลูกหน่อไม้ฝรั่งอย่างไรให้ได้คุณภาพ | แนวทางการลดต้นทุนการผลิตหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยชีวภาพไมโคโรซ่า |
หน่อไม้ฝรั่งเป็นพืชดั้งเดิมของเขตติดต่อระหว่างทวีปเอเชียและยุโรป ชาวกรีกและชาวโรมัน เป็นผู้บุกเบิกรู้จักนำมาบริโภค เมื่อ พ.ศ.343 โดยเชื่อว่า เป็นอาหารสุขภาพ กินแล้วร่างกายแข็งแรง กำลังกายดี ชาวจีนนำมาทำเป็นยาใช้ดองกับเหล้าดื่มบำรุงกำลัง
ยุคล่าอาณานิคม ชาวยุโรปเป็นผู้นำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกในทวีปอเมริกาและออสเตรเลีย ปัจจุบันทั้ง 2 ประเทศ ต่างมีชื่อเสียง ในการปรับปรุงพันธุ์ จำหน่าย เชิงการค้า ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
ประเทศไทย รู้จักหน่อไม้ฝรั่งก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยสั่งซื้อหน่อไม้ฝรั่งหน่อขาวบรรจุกระป๋องมาบริโภค แต่ถูกสั่งห้าม นำเข้า หลังสงครามสงบ เนื่องจากเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยมีราคาแพง ต่อมาปี พ.ศ.2489 รัฐบาลไทยได้นำเมล็ดพันธุ์มาจากประเทศ ออสเตรเลีย มาปลูกทดลองที่สถานีกสิกรรม อ.ฝาง จ.เชียงใหม่
อีก 40 ปี ต่อมา เริ่มมีความเป็นรูปเป็นร่าง เมื่อมีบริษัทของญี่ปุ่น ประสงค์จะส่งหน่อไม้สด ไปประเทศญี่ปุ่น ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมการเกษตร ดำเนินการ ตั้งแต่ปี 2529 ซึ่งประเทศไทย ได้จัดให้เป็น สินค้าเกษตร เพื่อการส่งออกเมื่อ 20 มกราคม 2530 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ยังกำหนดให้เกษตรกรผู้ปลูกหน่อไม้ฝรั่งในท้องที่ 15 อำเภอ 9 จังหวัด มาขึ้นทะเบียนภายใน 40 วัน นับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 29 กันยายน 2530
จังหวัดนครปฐม ริเริ่มปลูกหน่อไม้ฝรั่งเมื่อปี 2529 มีพื้นที่เริ่มต้น 274 ไร่ โดยมีพ่อค้า จากปากคลองตลาดมาส่งเสริม เพื่อนำไปจำหน่ายให้กับ บริษัท ธานียามา (ไทยแลนด์) จำกัด อีก 1 ปีต่อมา มีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 678 ไร่ แต่ยังไม่ได้เข้าร่วมโครงการ กับกรมส่งเสริม การเกษตร ต่อมาปี 2531 บริษัทโทบี้ จำกัด ได้เข้ามาส่งเสริมการผลิตในเขต อ.กำแพงแสน อ.เมือง อ.นครชัยศรี แต่ไม่สามารถดูแลพื้นที่ในเขตอำเภอเมืองไว้ได้ จึงปล่อยพื้นที่ให้ บริษัท ธานียามา (ไทยแลนด์) จำกัด
สำนักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม ได้เข้าร่วมจัดทำแผนแม่บท ระหว่างปี 2531 2534 มีการกำหนดแบ่งพื้นที่ส่งเสริมการปลูก 2 กลุ่ม คือ อำเภอนค รชัยศรีและกำแพงแสน ดำเนินการโดยบริษัท โทบี้ จำกัด ส่วน บริษัท ธานียามา (ไทยแลนด์) จำกัด ดำเนินการส่งเสริมในเขต อำเภอบางเลน ดอนตูม สามพรานและอำเภอเมือง มีเกษตรกร 15 กลุ่ม
ปัจจุบันอำเภอเมืองนครปฐม มีพื้นที่ปลูกหน่อไม้ฝรั่งทั้งหมด 1,688 ไร่ มีเกษตรกร 844 ราย แบ่งเป็น 3 กลุ่ม จำหน่ายให้กับ บริษัท ธานียามาสยาม จำกัด จำนวน 2 กลุ่ม ผลผลิตรวมทั้งปี 4,464 ตัน และจำหน่ายให้บริษัท ลีกรีนโพรดักท์ส จำกัด จำนวน 1 กลุ่ม ผลผลิตรวม 600 ตัน ส่วนผลผลิตตกเกรด (คือ ขนาดไม่ตรงกับความต้องการของตลาดต่างประเทศ แต่มีคุณภาพดีเหมือนกันทุกประการ) จำหน่ายให้พ่อค้าท้องถิ่น เพื่อบริโภคในประเทศ
ทั้งชนิดที่ส่งจำหน่ายต่างประเทศและภายในประเทศ มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่เรียกกันว่า "คอนแทรคฟาร์มมิ่ง" โดย มีกรมการค้าภายในเข้ามาดูแล ข้อสัญญาต่าง ๆ ให้กับเกษตรกร ซึ่งในอดีต กรมส่งเสริมการเกษตร เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด