ประเภทน้ำสกัดชีวภาพ | คุณสมบัติทั่วไปของน้ำสกัดชีวภาพ | คำแนะนำวิธีการใช้ | ประโยชน์ของน้ำสกัดชีวภาพ | สูตรน้ำสกัดชีวภาพ |
น้ำสกัดชีวภาพหมักได้จากเศษพืชและสัตว์ ดังนั้น จึงสามารถแบ่งประเภทน้ำสกัดชีวภาพตามวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตได้เป็น 2 ประเภทคือ
1. น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากพืช
2. น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์
1. น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากพืช
1.1ผลิตจากผักและเศษพืช
การทำน้ำสกัดชีวภาพโดยการหมักเศษพืชสดในภาชนะที่มีฝาปิดปากกว้าง นำเศษผักมาผสมกับน้ำตาล ถ้าพืชผักมีขนาดใหญ่ให้สับเป็นชิ้นเล็กๆ จัดเรียง พืชผัก เป็นชั้น ๆ โรยน้ำตาลทับสลับกันกับพืชผักอัตราส่วนของน้ำตาลต่อเศษผักเท่ากับ 1 : 3 หมักในสภาพไม่มีอากาศโดยการอัดผัก ใส่ภาชนะให้แน่น เมื่อบรรจุผักลงภาชนะ เรียบร้อยแล้ว ปิดฝาภาชนะนำไปตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม ปล่อยให้หมักต่อไปประมาณ 3 - 7 วัน จะเกิดของเหลวข้นสีน้ำตาล มีกลิ่นหอมของสิ่งหมักเกิดขึ้น ของเหลวนี้เป็นน้ำสกัด จากเซลล์พืชผักประกอบด้วย คาร์โบไฮเดรท โปรตีน กรดอะมิโน ฮอร์โมน เอนไซม์ และอื่นๆ
1.2ผลิตจากขยะเปียก
ได้มีการดำเนินงานโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยการนำขยะเปียก ได้แก่ เศษอาหาร เศษผัก ผลไม้ จำนวน 1 กิโลกรัม มาใส่ลงในถังหมัก แล้วเอาปุ๋ยจุลินทรี์ โรยลงไป 1 กำมือ หรือประมาณเศษ 1 ส่วน 20 ของปริมาตรของขยะ แล้วปิดฝาให้เรียบร้อย ภายในเวลา 10 - 14 วัน จะเกิดการย่อยสลายของขยะเปียกบางส่วนกลายเป็นน้ำ น้ำที่ละลายจากขยะเปียก สามารถนำไปใช้เป็นปุ๋ย โดยนำไปเจียจาง โดยการผสมด้วยอัตราส่วนน้ำปุ๋ย 1 ส่วนต่อน้ำธรรมดา 100 - 1,000 ส่วน นอกจากนี้โครงการฯ ยังได้ ประดิษฐ์ถังขยะแบบพิเศษ โดยนำถังพลาสติกมาเจาะรูแล้วใส่ก๊อก เปิดปิดน้ำที่ด้านข้าง ถังช่วงล่างจะสวมตาข่าย เพื่อป้องกันไม่ให้เศษอาหารไปอุดตัน ส่วนปัญหา เรื่องกลิ่น กรณีที่ขยะมีเศษเนื้อสัตว์ มีเศษอาหารอยู่มากให้ใช้เปลือกสับปะรด มังคุด กล้วย ใส่ลงไปให้มากๆ น้ำปุ๋ยจะมีกลิ่นหอมคล้ายกับกลิ่นหมักเหล้าไวน์ วิธีการดังกล่าวจุลินทรีย์ จะสามารถย่อยสลายขยะเปียกได้ประมาณ 30 - 40 ส่วนที่เหลือประมาณ 60 - 70 % จะกลายเป็นกากซึ่งก็คือปุ๋ยหมักสามารถนำไปใช้ในทางเกษตรได้
2.น้ำสกัดชีวภาพที่ผลิตจากสัตว์
ปุ๋ยปลาเป็นน้ำสกัดชีวภาพที่ได้จาการย่อยสลายเศษอวัยวะปลา ได้แก่ หัวปลา ก้างปลา หางปลา พุงปลาและเลือด ผ่านกระบวนการหมักโดยใช้เอนไซม์
ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หลังจากหมักจนได้ที่แล้วจะได้สารละลายสีน้ำตาลเข้ม ประกอบด้วยธาตุอาหารหลัก ได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม ธาตุอาหารรอง ได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน ธาตุอาหารเสริม ได้แก่ เหล็ก ทองแดง และแมงกานีส
นอกจากนี้ ปุ๋ยปลายังประกอบด้วยโปรตีนและกรดอะมิโน ซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของโปรตีนในตัวปลา จากข้อมูลผลของกรดอะมิโนที่มีต่อพืช แต่จากคำบอกเล่า ของเกษตรกรผู้ใช้ปุ๋ยปลา พบว่าปุ๋ยปลาจะไปช่วยพัฒนาคุณภาพของผลผลิต เช่น ดอกไม้ให้มีสีสดขึ้นและผลไม้มีคุณภาพดีขึ้นและช่วยเร่งการแตกยอด และออกดอกใหม่ ได้อีกด้วย
2.1ผลิตจากปลา
อัตราส่วน 1 ถัง 200 ลิตร ปลาสด 40 กก. กากน้ำตาล 20 กก. สารเร่งผลิตปุ๋ยหมัก 200 กก. ( 1 ซอง) วิธีการเตรียมสารเร่งผลิตปุ๋ยหมัก 1 ซอง ละลายน้ำอุ่น
20 ลิตร คนให้เข้ากัน 15 - 30 นาที (อย่าให้น้ำนิ่ง) นำปลาสดและกากน้ำตาลที่เตรียมไว้ใส่ถัง 200 ลิตร และนำสารเร่งทำปุ๋ยหมักที่เตรียมเสร็จแล้วใส่ในถังรวมกับปลาสด และ กากน้ำตาล ใส่น้ำพอท่วมตัวปลา(1/2) แล้วคนให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้ที่อุณภูมิ 30 - 35 องศาเซลเซียส ไม่ปิดฝา คนวันละ 4 - 5 ครั้ง ตลอดระยะเวลาในการหมักประมาณ
20-30 วัน ปลาจะย่อยสลายหมด เติมน้ำให้เต็มถังและคนให้เข้ากันก่อนที่จะนำไปใช้จะได้ปุ๋ยชีวภาพ 200 ลิตร อัตรากาใช้ปุ๋ยชีวภาพฉีดพ่นทางใบ 1 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร และราดโคน 1 ลิตร / น้ำ 200 ลิตร
2.2ผลิตจากหอยเชอรี่
วิธีที่1การทำจากหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมเปลือก
นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวมาทุบหรือบดให้ละเอียด จะได้หอยเชอรี่พร้อมเปลือกและน้ำจากตัวหอยเชอรี่ และนำผสมกับน้ำตาลและน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติ อัตรา 3:3:1 คนให้เข้ากันและนำไปบรรจุในถังหมักขนาด 30 ลิตร อย่างใดอย่างหนึ่งปิดฝาทิ้งไว้อาจคนให้เข้ากัน หากมีการแบ่งชั้นให้สังเกตดูว่ากลิ่นเหม็นหรือไม่ ถ้ามีกลิ่น เหม็นให้ใส่น้ำตาลโมลาสเพิ่มขึ้น และคนให้เข้ากันจนกว่าจะหายเหม็น ทำอย่างนี้เรื่อยไปจนกว่าจะไม่เกิดแก๊สให้เห็นบนผิวหน้าของน้ำหมักหอยเชอรี่ แต่จะเห็นความระยิบระยับ อยู่ที่ผิวหน้าน้ำหมักดังกล่าว บางครั้ง อาจจะพบว่ามีตัวหนอนลอยบนผิวหน้าและบริเวณข้างถังภาชนะบรรจุ ควรรอจนกว่าตัวหนอนดังกล่าวตัวใหญ่เต็มที่และตายไป ถือว่า น้ำหมักหอยเชอรี่ทั้งตัวเสร็จสิ้นขบวนการกลายเป็นน้ำหมักชีวภาพหอยเชอรี่ สามารถนำไปใช้ได้หรือนำไปพัฒนาผสมกับปุ๋ยน้ำอื่นๆ ใช้ประโยชน์ต่อไป
วิธีที่2การทำจากไข่หอยเชอรี่
นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่หอยเชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด จะได้น้ำไข่หอยเชอรี่พร้อมเปลือก แล้วนำไปผสมกับกากน้ำตาลและน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ ธรรมชาติ อัตรา 3:3:1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่น เดียวกับวิธีที่ 1
วิธีที่3การทำจากไข่หอยเชอรี่และพืช
นำไข่หอยเชอรี่หรือกลุ่มไข่เชอรี่มาทุบหรือบดให้ละเอียด และนำไปผสมกับพืชส่วนที่อ่อนๆ หรือส่วนยอดความยาวไม่เกิน 6 นิ้ว หรือไม่เกิน 1 คืบ ที่หั่นหรือ บดละเอียดแล้ว เช่นกัน แล้วนำมาผสมกันในอัตราส่วน ไข่หอยละเอียด : กากน้ำตาล : พืชส่วนอ่อนบดละเอียดและน้ำหนักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติคือ 3:3:1 แล้วนำไป หมักตามกระบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1
วิธีที่4นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวจำนวนเท่าใดก็ได้มาต้มในกระทะ
นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวพร้อมทั้งใส่เกลือแกงผสมไปด้วยในจำนวนพอเหมาะ เพื่อให้เนื้อหอยเชอรี่แยกจากเปลือกได้ง่ายขึ้น และนำเฉพาะเนื้อหอยเชอร์รี่มาบด ให้ละเอียด ให้ได้ดีจำนวน 3 ส่วน เพื่อผสมกับกากน้ำตาล และน้ำหมักจากจุลินทรีย์ธรรมชาติ 3:3:1 คนให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกันกับวิธีที่ 1
วิธีที่5การทำจากเนื้อหอยเชอรี่และพืชสด
นำเนื้อหอยเชอรี่ที่ได้จากการต้มกับเกลือเหมือนวิธีที่ 1 มาบดให้ละเอียดแล้วนำไปผสมกับกากน้ำตาลและชิ้นส่วนของพืชที่อ่อนๆ เหมือนอัตราส่วนเนื้อหอยเชอร์รี่ ี่บดละเอียด : น้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ คือ 3:3:1 ผสมให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1
วิธีที่6การทำจากเนื้อหอยเชอรี่ไข่หอยเชอรี่และพืชสด
วิธีนี้เป็นการผสมปุ๋ยหมักแบบเบ็ดเสร็จ ไม่ต้องแยกวัสดุแต่ละชนิดควรใช้อัตราส่วนดังนี้ เนื้อหอยเชอรี่พร้อมเปลือก หรือเนื้อหอยเชอรี่อย่างเดียว : ไข่หอยเชอรี่ : พืชก่อน อัตรา 3:3:5 - 6:2:3 มีข้อสังเกตเพียงดูว่ามีกลิ่นเหม็นหรือไม่เพียงใด หากมีกลิ่นเหม็นให้เติมกากน้ำตาล และน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ ธรรมชาติ เพิ่มขึ้นจนกว่า จะไม่กลิ่น จะใช้เวลานานแค่ไหนเพียงใด ให้ดูลักษณะผิวหนังของน้ำหนักเช่นเดียวกับการทำน้ำหมักหัวเชื้อจุลินทรีย์ธรรมชาติอัตราการใช้พืชที่อายุน้อย ระยะการเจริญเติบโต แรก ๆ ใช้อัตรา 1:500 - 10,000 หรือจากการทดสอบเบื้องต้นพบว่าอัตราการใช้พืชที่อายุน้อย ระยะการเจริญเติบโตแรกๆ ใช้อัตรา 1:500 - 10,000 หรือจากการทดสอบ เบื้องต้นพบว่าอัตราที่เหมาะสม คือ 20 ซี.ซี / น้ำ 20 ลิตร สามารถใช้ได้ 7 - 10 วัน ขึ้นอยู่กับชนิดอายุการเจริญเติบโตของแต่ละพืชว่าเป็นพืชผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ ข้าว เป็นต้น ซึ่งยังต้องการข้อมูลจากการทดสอบอีกมาก
ให้ระมัดระวังเวลานำไปใช้ราดหรือฉีดพ่นต้นพืชควรใช้เจือจางมาก(อัตราที่แนะนำให้ใช้คือจากสารละลายที่ผ่านขบวนการหมักสมบูรณ์แล้ว ก่อนนำไปใช้ ควรทำให้เจือจางในอัตรา 1:500 หรือ 1:1,000) วิธีการใช้ที่ถูกต้องจะมีผลต่อดินและพืชที่นำไปราดหรือฉีดพ่นใส่ ควรใช้เพื่อช่วยเสริมการเจริญเติบโตให้กับต้นพืช หรือช่วยเสริมกิจกรรมของจุลินทรีย์ และจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีอย่างอื่นๆ เช่น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก หรือ ปุ๋ยเคมีเข้าช่วย ซึ่งจะทำให้การใช้ได้ผลดีที่สุด ตลอดจน การดูแลปฏิบัติต่อพืชในด้านอื่นๆ ด้วย