ประเภทน้ำสกัดชีวภาพ คุณสมบัติทั่วไปของน้ำสกัดชีวภาพ คำแนะนำวิธีการใช้ ประโยชน์ของน้ำสกัดชีวภาพ สูตรน้ำสกัดชีวภาพ

 

การทำน้ำสกัดชีวภาพ
                1. ใช้เศษพืช ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหาร ที่ยังไม่บูดเน่า นำมาสลับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ภาชนะที่มีฝาปิด เช่น ถังพลาสติก หรือโอ่ง
                2. ใส่กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดงหรือขาวลงไป 1 ใน 3 ของน้ำหนักผัก (1:3) ในอัตราส่วนนี้ถ้ามีน้ำสกัดชีวภาพอยู่แล้วให้ใส่กากน้ำตาลน้อยลง
                3. มีของหนักวางทับผักไว้ แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 5 - 7 วัน
                4. จะมีของเหลวสีน้ำตาลไหลออกมาคือ น้ำสกัดชีวภาพ กรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิทพร้อมที่จะมานำมาใช้

ข้อควรระวังในการทำน้ำสกัดชีวภาพ
                1. ในระหว่างการหมักห้ามปิดฝาภาชนะที่ใช้หมักโดยสนิท เพราะจะทำให้ระเบิดได้ เนื่องจาก ระหว่างการหมักเกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก๊าซมีเทน ฯลฯ
                2. หากมีการใช้น้ำประปาในการหมักต้องต้มให้สุกหรือตากแดด เพื่อไล่คลอลีนเพราะอาจเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก
                3. พืชบางชนิดไม่ควรใช้ในการหมักเช่น เปลือกส้ม เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกเป็นพิษต่อจุลินทรีย์ย่อสลายในสภาพปลอดอากาศ
                4. การทำน้ำสกัดชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพควรหมักให้ได้ที่ เพราะพบปัญหาเกิดเชื้อราที่ใบทุเรียนเพราะน้ำตาลที่เหลืออยู่จุลินทรีย์ใช้ไม่หมด

เคล็ดลับในการทำน้ำหมักให้ได้ผลดี
                1 . ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า สับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เช่นถังพลาสติก หรือโอ่ง หากมีน้ำหมักชีวภาพ อยู่แล้วให้เทผสมลงไปแล้วลดปริมาณกากน้ำตาลลง ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้ จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพ จากนั้นกรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิท รอการใช้งานต่อไปค่ะ
                2. ในระหว่างการหมัก ห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้เนื่องจากระหว่างการหมักจะเกิดก๊าชต่างๆ ขึ้น เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทน เป็นต้น
                3.ไม่ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้ม ใช้ทำน้ำหมัก เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลายการทำน้ำหมักชีวภาพ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องอาศัยเวลา และความอดทน ที่สำคัญน้ำหมักชีวภาพไม่มีสูตรที่ตายตัว เราสามารถทดลองทำปรับเปลี่ยนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับต้นไม้ของเรา เพราะสภาพแวดล้อมแต่ละท้องถิ่น มีความแตกต่างกัน ต้นไม้แต่และถิ่นก็ต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน น้ำหมักชีวภาพจึงจำเป็นต้องมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่น.

วิธีใช้น้ำสกัดชีวภาพ
นำน้ำสกัดชีวภาพผสมน้ำธรรมดาทำให้เจือจาง
                1. ฉีดพ่นพืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น อัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5 - 10 ลิตร (1: 500 - 1,000) ควรฉีดพ่นให้บ่อยครั้ง
                2. ราดกองใบไม้ใบหญ้า สด แห้ง อัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 2 - 3 ลิตร (1: 200 - 250) ใช้พลาสติกคุลมกองพืชปล่อยให้เกิดการย่อยสลาย 1 - 2 สัปดาห์ นำมาใช้ ้ประโยชน์ได้ ใช้ผสมดินหรือคลุมดินบริเวณต้นพืช
                3. ใช้ทำปุ๋ยหมักแห้ง โดยใช้น้ำสกัดชีวภาพ อัตรา 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 10 ลิตร และเพิ่มกากน้ำตาล 2 ช้อนราดปุ๋ยหมักแห้งให้มีความชื้นหมาดๆ
                4. ราดดินแปลงเพาะปลูกปฏิบัติดังนี้ พรวนดินผสมคลุมเคล้ากับวัชพืช หรือเศษพืชใช้อัตราเจือจาง 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 2 - 5 ลิตร (1: 200-500) ราด 1 ตรม. ต่อ 0.5 - 1 ลิตร ปล่อยให้เกิดการย่อยสลาย 3 - 7 วัน ก็สามารถปลูกพืชหรือกล้าไม้ได้ ถ้าต้องการกำจัดวัชพืชพวกมีเมล็ดควรปล่อยให้วัชพืชงอกอีกครั้งหนึ่ง จึงพรวนซ้ำ แล้วรดน้ำสกัด ชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพ   หรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำเจือจาง  อัตรา 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 5 ลิตร (1:500)    ปลูกพืชได้ภายใน 2-3วัน
                5. ผสมน้ำอัตรา 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 1 - 5 ลิตร (1: 100 - 500 ) ราดพื้นที่ทำความสะอาดจะช่วยย่อยอินทรียวัตถุที่ติดพื้น นำไปเทในแอ่งน้ำขังช่วยย่อยอินทรีย์วัตถุ ในแอ่งน้ำให้ย่อยสลายลงทำให้แอ่งน้ำที่มีสภาพดีขึ้น
                6. การขยายหัวเชื้อทำได้โดยอัตราส่วน   คือ  น้ำสกัดชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพหรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำ  :  น้ำ ในอัตราส่วน 1 : 1 : 10 ใส่ขวดปิดฝา 3 วัน นำไปใช้ได้

ข้อควรระวังในการใช้น้ำสกัดชีวภาพ
                1. การใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชบางชนิด เช่น กล้วยไม้ อาจทำให้วัสดุที่ใช้ปลูก เช่น กาบมะพร้าวผุเร็วก่อนเวลาอันสมควร
                2. การใช้น้ำสกัดชีวภาพกับพืชนั้นในดินควรมีอินทรีย์วัตถุอยู่ เช่น มีการใส่ปุ๋ยหมัก และเศษพืชแห้งคลุมดินไว้ ซึ่งทำให้การใช้ประโยชน์ จากน้ำสกัดชีวภาพ
           
   หรือน้ำหมักชีวภาพได้ผลดี
                3. ห้ามใช้อัตราที่กำหนดไว้ในคำแนะนำ เพราะอาจมีผลทำให้ใบไหม้ได้ เนื่องจากความเป็นกรดหรือความเค็มในน้ำสกัดชีวภาพ หรือน้ำหมักชีวภาพ
                4. น้ำสกัดชีวภาพหรือน้ำหมักชีวภาพที่มีธาตุไนโตรเจนสูงระวังการใช้ เพราะใช้มากอาจทำให้เฝือใบและไม่ออกดอก ออกผลได้