ประเภทน้ำสกัดชีวภาพ | คุณสมบัติทั่วไปของน้ำสกัดชีวภาพ | คำแนะนำวิธีการใช้ | ประโยชน์ของน้ำสกัดชีวภาพ | สูตรน้ำสกัดชีวภาพ |
คุณสมบัติทั่วไปของน้ำสกัดชีวภาพ
- น้ำสกัดชีวภาพมีคุณสมบัติโดยทั่วๆ ไป มีดังนี้
- มีค่า pH (ความเป็นกรดเป็นด่าง) อยู่ในช่วง 3.5 - 5.6 ปฏิกิริยาเป็นกรดถึงกรดจัด ซึ่ง pH ที่เหมาะสมกับพืชควรอยู่ในช่วง 6 - 7
- ความเข้มข้นของสารละลายสูง โดยค่าของการนำไฟฟ้า (Electrical conductivity , E.C) อยู่ระหว่าง 2 - 12 desicemen / meter (ds / m) ซึ่งค่า E.C ที่เหมาะสมกับพืช
ควรจะอยู่ต่ำกว่า 4 ds / m
- ความสมบูรณ์ของการหมัก พิจารณาจากค่า C / N ration มีค่าระหว่าง 1 / 2 - 70 / 1 ซึ่งถ้า C / N ratio สูง เมื่อนำไปฉีดพ่นบนต้นพืช อาจแสดงอาการใบเหลืองเนื่องจาก
ขาดธาตุไนโตรเจนได้
- ปริมาณธาตุอาหาร ธาตุอาหารหลัก (N,P,K)
- ไนโตรเจน (% Total N) ถ้าใช้พืชหมัก พบไนโตรเจน 0.03 - 1.66 % แต่ถ้าใช้ปลาหมักจะพบประมาณ 1.06 - 1.70 %
- ฟอสฟอรัส ( % Total P2 O5 ) ในน้ำหมักจากพืชจะมีตั้งแต่ไม่พบเลยจนถึง 0.4 % แต่ในน้ำหมักจากปลาพบ 0.18 - 1.14 %
- โพแทสเซียมที่ละลายน้ำได้ (% Water Soluble K2 O) ในน้ำหมักพืชพบ 0.05 - 3.53 % และในน้ำหมักจากปลาพบ 1.0 - 2.39 %
ธาตุอาหารรอง (Ca, Mg,S)
- แคลเซียม ในน้ำหมักจากพืชพบ 0.05 - 0.49 % และน้ำหมักจากปลาพบ 0.29 - 1.0%
- แมกนีเซียมและซัลเฟอร์ ในน้ำหมักจากพืชและปลาพบในปริมาณที่ใกล้เคียงกัน คือ 0.1- 0.37 %
ธาตุอาหารเสริม
- เหล็ก ในน้ำหมักจากพืชพบ 30 - 350 ppm. และน้ำหมักจากปลาพบ 500 - 1,700 ppm.
- คลอไรด์ น้ำหมักจากพืชและปลามีปริมาณเกลือคลอไรด์สูง 2,000 - 11,000 ppm.
- ธาตุอาหารเสริมอื่นๆ ได้แก่ แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน และโมลิบดินัม น้ำหมักทั้งจากพืชและปลาพบในปริมาณน้อย มีค่าตั้งแต่ตรวจไม่พบเลย ถึง 130 ppm.
คุณสมบัติของน้ำสกัดชีวภาพในด้านการป้องกันกำจัดศัตรูพืช
การหมักพืช หรือสัตว์ในกระบวนการหมักจะมีก๊าซมีเทน (CH3) เกิดขึ้นซึ่งจุลินทรีย์หรือแบคทีเรียจะเปลี่ยนก๊าซมีเทน (CH3) ให้กลายเป็นแอลกอฮอล์ และ แอลกอฮอล์เมื่อถูกออกซิเจนในอากาศทำให้กลายเป็นเอสเตอร์ของแอลกอฮอล์จะมีกลิ่นหอมหรือเหม็นเฉพาะตัวถ้ามีกลิ่นหอมก็เป็นสารดึงดูดแมลงถ้ามีกลิ่นเหม็น
ก็จะเป็นสารไล่เแมลง
จากการวิเคราะห์น้ำสกัดชีวภาพของสำนักวิจัยและพัฒนาการผลิตสารธรรมชาติกรมวิชาการเกษตรปรากฏผลดังนี้
1.น้ำสกัดชีวภาพที่หมักจากผลไม้ผักสดหรือจากพืชสมุนไพร
จะมีสารพวก polyphenol ได้แก่ 1,2 Benzenediol หรือ 1,3 Benzenediol พวก dimethoxy phenol, benzoic acid derivatives สารเหล่านี้มีคุณสมบัติเป็นกรด เช่น 1,3 Benzenediol(resorcinol) ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังและเยื่อบุจมูก ทางสัตวแพทย์เคยใช้เป็น antiseptic ดังนั้น สารพวกนี้อาจก่อให้เกิด การระคายเคือง ต่อผิวหนังของแลงได้ นอกจากนี้ยังพบสารพวก ethylester ของพวกกรดไขมัน เช่น ethyl palmitate, ethyl linoleate ในสารละลายบางตัวพบ alcohol ได้แก่ bezene ethanol
2.น้ำสกัดจากหอย+ไข่ดาว
พบสารพวก poly phenol และ ethyl ester ของกรดไขมันเช่นเดียวกัน Ethyl ester เกิดจาก alcohol ชนิด ethyl alcohol ที่สกัดจากการหมักย่อยสารของพืชแล้ว alcohol นั้น ก็ทำปฏิกิริยากับกรดไขมันที่มีในพืชที่เป็น ethyl ester คุณสมบัติของ ester พวกนี้มีคุณสมบัติ เป็นสารไล่แมลงและสารล่อแมลงได้
แต่ถ้าเกษตรกรต้องการใช้พืชสมุนไพรที่มีศักยภาพในการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ควรใช้น้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น (ในกรณีของพืชที่มีน้ำมันหอมระเหยปนอยู่ด้วย) ในอัตราส่วนพืช 1 กิโลกรัม แช่น้ำ 20 ลิตร คนเป็นครั้งคราว ทิ้งไว้ 1 คืน ไม่ควรเกิน 2 คืน นำเอาเอกสารละลายที่ได้มาผสมน้ำอีกเท่าตัว แล้วฉีดพ่นบนต้นพืช จะให้ผลดีกว่า การนำมาหมักผสมกันหลายๆ ชนิด กับกากน้ำตาลและการฉีดพ่นไม่ต้องฉีดพ่นรวมกับน้ำสกัดชีวภาพ หรือน้ำหมักชีวภาพ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ควรฉีดพ่นเมื่อต้องการนำมาใช้ ้ป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเท่านั้น พืชที่สามารถนำมาใช้ป้องกัน และกำจัดศัตรูพืช ได้แก่ สะเดา (ใช้ส่วนของเมล็ด) ตะไคร้หอม (ใช้ส่วนใบ) หนอนตายหยาก (ใช้ส่วนราก) ว่านน้ำ (ใช้ส่วนเหง้า) ข่า (ใช้ส่วนแง่ง) สาบเสือ (ใช้ส่วนใบ) เป็นต้น